อัพเดตภาวะลองโควิด Long COVID เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้

อัพเดตภาวะลองโควิด Long COVID เรื่องใกล้ตัวที่ต้องรู้

 

         

          ใกล้กันแล้วนะชาว Linee ใกล้ที่โรค โควิด – 19 (COVID -19) ที่อยู่กับเรามาหลายปีกำลังจะกลายเป็น โรคประจำถิ่น (Endemic Disease) โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าว่าจะประกาศให้ โควิด – 19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นประมาณ  1 ก.ค.65 ปีนี้ แต่ถึงจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นก็ต้องยอมรับกันว่า โควิด – 19 จะยังอยู่กับเราต่อไป และสิ่งที่น่าห่วงยิ่งขึ้นคือ ลองโควิด (Long COVID) ที่นานวันเข้าก็ยิ่งมีการค้นพบอาการป่วยที่สืบเนื่องมาจากการติดโควิด – 19 มากขึ้น ๆ เราจึงมาขออัพเดตว่า ตอนนี้อาการลองโควิด มีอะไรบ้าง เพื่อจะได้เตือนตัวเองว่า แม้โควิด – 19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น แต่ฤทธิ์ร้ายของมันก็ยังอันตรายเหมือนเดิม !!

 

“ลองโควิด” (Long COVID) คืออะไร?

          ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post Covid - 19 Syndrome คือ ภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคนที่หายจากการเป็นโรคโควิด – 19 แล้ว  บางครั้งเป็นอาการตกค้างที่เกิดตั้งแต่ยังป่วยแล้วไม่หาย แต่บางครั้งก็เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการลองโควิดที่แตกต่างกันไป และเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย บางคนมีอาการระยะหนึ่งแล้วหายได้เอง แต่บางคนมีอาการเรื้อรังจนต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งมีการประเมินว่า

 

 

อาการ “ลองโควิด” ในปัจจุบันในตอนนี้

          อาการลองโควิดโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นคือ อ่อนเพลียเรื้อรัง หายใจไม่อิ่ม รู้สึกผิดปกติ และรู้สึกเบลอ สมองและร่างกายไม่แจ่มใสอย่างที่เคย ซึ่งแบ่งกลุ่มได้คร่าว ๆ คือ

           กลุ่มที่มีอาการลองโควิด แต่ตรวจไม่พบความผิดปกติที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย เช่น เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร จะเน้นการฟื้นฟูร่างกายโดยรวมด้วยการปรับพฤติกรรมการออกกำลังการ กายใช้ชีวิต การนอน และบำรุงทางโภชนาการ เพื่อให้ร่างกาย และจิตใจกลับมาแข็งแรง

 

 

          กลุ่มที่มีอาการลองโควิด และตรวจพบความผิดปกติของอวัยวะ เช่น เพลียสะสม แล้วตรวจพบพังผืดในปอด หายใจไม่อิ่มแล้วพบการอุดตันในเส้นเลือด รู้สึกเจ็บแปลบที่หัวใจแล้วตรวจพบว่ามีอาการหัวใจอักเสบ กลุ่มนี้แพทย์ต้องติดตามต่อเนื่องเพื่อทำการรักษาระยะยาว

 

 

          อาการลองโควิดที่มีการรวบรวมไว้ในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

    • เหนื่อยง่าย
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • ยังมีไข้ในบางครั้ง

 

 

    • รู้สึกชาตามแขนขา หรือส่วนต่าง ๆ ตามร่างกาย แม้แต่ใบหน้า
    • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสผิดเพี้ยน
    • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่แจ่มใส
    • หายใจไม่เต็มปอด หรือหายใจไม่เต็มอิ่ม
    • มึนงง ปวดศีรษะ

 

 

    • นอนไม่หลับ
    • ใจสั่น
    • รู้สึกความจำถดถอย ขี้ลืม
    • ไอเรื้อรัง
    • ประจำเดือนมาผิดปกติในผู้หญิง
    • เป็นผื่นขึ้นตามตัว

 

 

    • ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องเสียง่าย
    • ปวดระบมข้อต่อ และกล้ามเนื้อ
    • เจ็บแปลบที่หน้าอก หรือรู้สึกจุกแน่นที่หน้าอก
    • เครียดสะสม ไม่มีสมาธิ
    • เกิดอาการวิตกกังวลไปจนถึงมีภาวะซึมเศร้า

 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้จาก “ลองโควิด”

          ภาวะลองโควิดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นอาการทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจงไปที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่ถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะในร่างกาย  จะต้องระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น ซึ่งก็คือโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น  

 

 

- โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)
- อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke)
- ภาวะสมองล้า (Brain Fog)
- กลุ่มอาการอักเสบทั่วร่าง (MIS-C) หรือ โรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) ที่มีการอักเสบตามอวัยยะต่าง ๆ  ในเด็ก
- ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Dysautonomia)
- กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง(Chronic fatigue syndrome, CFS)
- กลุ่มอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า (Postural Orthostatic tachycardia syndrome: POTS)
- ภาวะความผิดปกติของระบบประสาทที่เรียกว่า Guillain (Barre Syndrome)
- โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ที่เป็นกลุ่มอาการที่เหนื่อยล้า เจ็บปวดตามข้อ นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบความจำ
- โรคซึมเศร้า (Depression)
 

 

 

ถ้ามีอาการลองโควิด “Long Covid” ควรฟื้นฟูตัวเองอย่างไร ?

 

  1. ใช้การดูแลทางโภชนาการเพื่อฟื้นฟูร่างกาย
    • อาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่ช่วยเสริมวิตามิน และเกลือแร่ให้ร่างกายให้จากอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง เช่น ฝรั่ง ส้ม ผักบุ้ง  ตำลึง ข้าวกล้อง ถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

 

 

    • น้ำเปล่า ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย หรืออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

 

 

    • อาหารย่อยง่าย เช่น ไข่ นม เต้าหู้ เนื้อปลาต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มีโอเมก้า 3 เพื่อลดจำนวนไวรัสในเซลล์

 

 

    • อาหารที่มีประโยชน์กับระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะที่มี โพรไบโอติกส์ (Probiotics) เช่น นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต รสธรรมชาติ หรือสูตรน้ำตาลน้อย กับผลไม้ ผักใบเขียว และธัญพืช เช่น แอปเปิ้ล ผักโขม ถั่ว ข้าวโพด ฯลฯ ที่ช่วยเพิ่มกากใยอาหาร เป็นต้น

 

 

    • อาหารช่วยบำรุงปอด เช่น ขิง ฟักทอง มะเขือเทศ ขมิ้นชัน พริกหวาน แอปเปิ้ล ธัญพืช ควรรับประทานเพิ่มขึ้นเพื่อฟื้นฟูปอดให้แข็งแรง

 

 

    • เลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น อาหารรสจัด ย่อยยาก อาหารแปรรูป รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันสูง เช่น ของทอด ของหวาน

 

 

    • ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และการสูบบุหรี่ เพราะนอกจากส่งผลเสียแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูร่างกาย

 

 

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนไม่เกิน 4 ทุ่ม และตื่นเช้าเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้า และควรเข้านอนเป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ

 

 

  1. ทำกิจกรรมเสริมสร้างร่างกายด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หนักเกินไป เช่น เดินเร็ว แอโรบิก คาร์ดิโอ โยคะ

 

 

  1. หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ ด้วยการหมั่นทำความสะอาดบ้านลดฝุ่น หลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่และ ฝุ่น PM5

 

 

  1. ฟื้นฟูอาการร่างกายส่วนที่ได้รับผลจากภาวะลองโควิดโดยเฉพาะ เช่น
    • เหนื่อยอ่อน ไม่มีแรง ควรเริ่มจากปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเริ่มออกกำลังกายเบา ๆ เมื่อร่างกายเริ่มดีขึ้นจึงค่อยขยับออกกำลังกายมากขึ้นเพื่อฟื้นฟูตัวเอง

 

    • มีภาวะหายใจไม่อิ่ม รู้สึกหายใจได้ไม่เต็มที่ เพราะมีปัญหาที่ปอด ควรเริ่มจาก การฝึกการหายใจ (Breathing Exercise) ฟื้นฟูปอดด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ หรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์

 

    • นอนไม่หลับ ซึ่งมักเป็นผลจากความเครียด และผลข้างเคียงของยารักษาโควิด รวมถึงการใช้ชีวิตช่วงทำการรักษา ทำให้ระบบการนอนเปลี่ยนไป วิธีแก้ไขคือ เริ่มจากปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักผ่อน เช่น อากาศถ่ายเทดี แสงไฟไม่จ้า นอนในเวลาที่เหมาะสม 2 ชั่วโมงก่อนนอนไม่ออกกำลังกาย หรือรับประทานอาหาร และครึ่งชั่วโมงก่อนนอนไม่ควรเล่นคอมพิวเตอร์ มือถือ ที่กระตุ้นให้นอนไม่หลับ

 

    • จมูกและลิ้นผิดเพี้ยน ปกติหลังหายจากโควิดแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น  แต่ถ้า 2 เดือนแล้วยังไม่หาย ควรเริ่มปรับระบบการดมกลิ่นด้วยการลองดมกลิ่นต่าง ๆ ที่ไม่แรงเกินไป เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร กลิ่นสบู่ เป็นต้น ส่วนลิ้นควรลิ้มรสอาหารรสอ่อน อย่าทดลองด้วยอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเผ็ด เพราะอาจส่งผลเสียต่อต่อมรับรสได้

 

    • ไอเรื้อรัง ถ้ามีเสมหะบ้างถือว่าไม่เป็นอะไรมาก ดูแลตัวเองได้ด้วยการดื่มน้ำอุ่น ใช้ยาแก้ไอ และยาพ่นช่วยบรรเทา แต่ถ้าไอถี่ ไอแรง มีเสมหะสีเขียว หรือไอปนเลือด พ่วงด้วยอาการเจ็บเจ็บหน้าอกแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ควรพบแพทย์ด่วน

 

    • เครียดสะสม ความเครียดสำหรับคนเป็นโควิด – 19 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และมักอยู่ยาวแม้จะรักษาโควิดหายแล้ว ฉะนั้นนอกจากฟื้นฟูร่างกายแล้ว ควรดูแลสุขภาพใจด้วยการหากิจกรรมที่รู้สึกผ่อนคลาย เช่นเปลี่ยนบรรยากาศไปสัมผัสธรรมชาติ นั่งสมาธิ หางานอดิเรกทำ ลดการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ปรึกษานักจิตบำบัด แต่ถ้าหลังหายจากโควิดเกิน 1 เดือน แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาจิตแพทย์

 

    • ภาวะบวม หลังหายจากโควิด บางคนมีอาการแขนขาบวมเนื่องจากน้ำเกลือ และยาที่ใช้รักษา ซึ่งภาวะบวมจะค่อย ๆ หายไปเอง อย่าใจร้อนไปรับประทานยาขับปัสสาวะเพื่อลดบวม เพื่ออาจเกิดอาการแทรกซ้อน แต่ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด

 

    • ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็น อาหารย่อยยาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ฯลฯ ให้เริ่มดูแลตัวเองด้วยการปรับพฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัดที่มีประโยชน์ก่อน เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน และรับประทานอาหาร

 

 

          ภาวะ “ลองโควิด” เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้กับใครก็ตามที่เคยป่วยเป็น “โควิด – 19” ฉะนั้นหากใครยังไม่เคยเป็นก็ควรป้องกันตัวเองให้ดีต่อไป เพราะแม้โควิด – 19 จะกลายเป็น “โรคประจำถิ่น” แล้ว ภาวะลองโควิดก็ไม่หายไปไหน ดังนั้นขอให้ชาว Linee ทุกคนดูแลตัวเองกันต่อไปนะทุกคน

 

Back to blog