อาการ "ฟันบาง" คืออะไร รักษาได้หรือไม่ ไปหาคำตอบกัน

อาการ "ฟันบาง" คืออะไร รักษาได้หรือไม่ ไปหาคำตอบกัน

 

 

          ฟันบาง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับใครหลายคนโดยไม่ทันรู้ตัว เกิดขึ้นจากการที่ฟันสึก และฟันกร่อน จากหลาย ๆ สาเหตุ แต่เมื่อฟันบางลงแล้วกลับนำไปสู่อาการไม่พึงประสงค์ในช่องปากที่เกี่ยวกับเหงือกและฟันหลายอย่าง จึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงอยากชวนชาว Linee มารู้จักกับอาการฟันบาง  เรื่องแบบนี้รู้ไว้ จะได้คอยดูแลสุขภาพช่องปากให้แข็งแรง อยู่กับเราไปนาน ๆ ยังไงล่ะคะ

 

“ฟันบาง” คืออะไร

 

          ฟันบาง หรือ ฟันสึก การที่ฟันบางส่วนโดนกรดกัดเซาะจนสึกกร่อนหลุดไปทีละนิด ๆ โดยเริ่มจากผิวฟัน แล้วกร่อนลึกไปจนถึงเนื้อฟัน ทำให้ฟันค่อยๆ บางลง เกิดขึ้นได้กับฟันทุกซี่ แต่ที่ต้องระวังคือการสึกกร่อนบริเวณคอฟัน และฟันหน้า การสึกกร่อนของฟันมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น นอนกัดฟันจนทำให้ฟันมีปัญหา ผลจากกรดในกระเพาะอาหาร และปัจจัยภายนอก เช่น เคี้ยวของแข็ง รับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดเป็นประจำ หรือทำแปรงฟันอย่างผิดวิธี เป็นต้น

 

 

          กรดในช่องปากเกิดจากการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มบางชนิด หรือเกิดจากการที่เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากย่อยเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันจนทำให้เกิดกรดขึ้นมาก็เป็นได้ โดยปกติในช่องปากจะมีค่าความเป็นกรด และด่างของน้ำลายประมาณ 6.5 – 7.5 และมีแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต ฯลฯ ที่ช่วยในการเคลือบฟัน แต่เมื่อมีกรดมาสัมผัสที่ฟัน ค่าความเป็นกรด และด่างของในน้ำลายที่เคลือบฟันอยู่จะลดลงเหลือเพียง 5.5  และแร่ธาตุที่เคลือบฟันอยู่ก็จะจางลง ทำให้ผิวฟันเสียหาย ฟันบางลง  ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน และอาจเกิดการเปลี่ยนแปรงของรูปฟันได้ บางครั้งอาจทำให้มีหลุมที่เนื้อฟัน ถ้าเกิดบนฟันหน้าจะยิ่งส่งผลต่อความมั่นใจได้

 

อาการที่บอกว่า คุณกำลัง “ฟันบาง” คือ

 

  1. มีอาการเสียวฟันเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากผิวฟันถูกทำลาย เนื้อฟันบางลงทำให้ฟันไวต่อความรู้สึก เมื่อดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด เย็นจัด หรือรับประทานอาหารรสเปรี้ยวจัด หวานจัด จะรู้สึกเสียวฟันได้                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             
  2. รู้สึกว่าฟันเริ่มเปลี่ยนสี เนื้อฟันดูหม่นหมอง ไม่ขาวใส เกิดปัญหาฟันเหลือง เพราะเคลือบฟันถูกทำลาย ทำให้เนื้อฟันไม่มีเกราะป้องกัน เห็นสีเนื้อฟันด้านในชัดเจน ฟันจึงดูขรุขระและมีสีเหลืองชัดขึ้น

 

 

  1. ปลายฟันโดยเฉพาะฟันหน้าดูโปร่งใส เปราะบาง กว่าปกติ เพราะเนื้อฟันบางมากขึ้น สาเหตุที่เกิดขึ้นกับฟันหน้าได้ง่าย เป็นเพราะเราใช้ฟันหน้าในการกัดแทะอาหาร เมื่อฟันหน้าสัมผัสกับผัก ผลไม้ที่มีความเป็นกรดบ่อย ๆ เมื่อดูแลไม่ดีจึงทำให้ฟันค่อย ๆ บางลง โดยเฉพาะปลายฟัน

 

 

  1. รู้สึกได้ว่าฟันไม่แข็งแรงเหมือนเดิม กระทบกระเทือนและเปราะบางกว่าปกติ ทำให้เกิดฟันบิ่น ฟันแตกขึ้นมาอย่างที่ปกติไม่เคยเป็น

 

 

 

สาเหตุที่ทำให้เกิด “ฟันบาง” มีอะไรบ้าง

 

  1. ในกระเพาะอาหารมีความเป็นกรดสูง เมื่อเกิดการอาเจียน คลื่นไส้ หรือเหตุที่ทำให้กรดในกระเพาะถูกขับขึ้นมาในช่องปาก ทำให้กรดสัมผัสฟัน เกิดการสึกกร่อน จนฟันบางลงในที่สุด

 

 

  1. อาการป่วยจากโรคต่าง ๆ เช่น กระเพาะอักเสบ โรคระบบประสาทส่วนกลาง เบาหวาน ฯลฯ

 

 

  1. ร่างกายได้รับผลข้างเคียงจากยารักษาโรค หรือสารเคมี ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ระบบย่อยอาหารเกิดการระคายเคือง

 

 

  1. การรับประทานอาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นกรดเป็นประจำ เช่น วิตามินซีที่มีกรดแอสคอร์บิก หรือยาแอสไพรินที่มีกรดอะซีทัลซาลิซิลิก เป็นต้น

 

 

 

  1. พฤติกรรมความชอบอาหารและเครื่องดื่มรสเปรี้ยวที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น มะนาว สัปปะรด น้ำอัดลม โซดา และของหมักดอง แล้วดูแลทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้กรดกัดกร่อนจนฟันสึก และบางลง

 

 

  1. อยู่ในภาวะเครียด และมีพฤติกรรมนอนกัดฟัน ทำให้ฟันสึก เนื้อฟันบางลง แระถ้าเป็นหนักอาจเกิดฟันบิ่น หรือแตกหักได้

 

 

 

  1. คนที่ทำงาน หรืออาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ต้องรับไอระเหยที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น กรดซัลฟูริกในอุตสาหกรรมทำปุ๋ย และแบตเตอรี่ กรดไฮโดรคลอริกในโรงงานชุบสังกะสี เป็นต้น

 

 

 

  1. ดูแลสุขภาพช่องปากผิดวิธี เช่น แปรงฟันผิดวิธี ใช้ยาสีฟันหรือแปรงสีฟันที่ไม่เหมาะสม ทำให้การแปรงฟันกลายเป็นการขัดสีทำร้ายผิวฟัน และเนื้อฟัน จนเกิดฟันสึกจนบางลงเรื่อย ๆ ได้

 

 

 

  1. กำลังใส่เครื่องมือทางทันตกรรมบางอย่าง เช่น เฝือกสบฟัน ทำให้ฟันเสียดสี และกระทบกับเครื่องมือทางทันตกรรมจนผิวฟันถูกทำลาย ฟันบางลง

 

 

เมื่อฟันสึกกร่อนจนทำให้ “ฟันบาง” มีวิธีรักษาอย่างไร

 

  1. ถ้ารู้สึกมีอาการเสียวฟัน แล้วรู้สึกว่าฟันเริ่มไม่ปกติ ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีโพแทสเซียม หรือสตรอนเทียม เพื่อบรรเทาการเสียวฟัน

 

 

  1. คนที่ฟันเพิ่งเริ่มสึกในระยะเริ่มต้น ฟันยังไม่บาง และ ไม่มีอาการใด ๆ อาจไม่เป็นต้องรักษา แล้วแต่ดุลพินิจของทันตแพทย์                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  
  2. คนที่ฟันสึกยังไม่มาก ฟันเริ่มบาง และมีอาการเสียวฟันมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันสูตรลดการเสียวฟัน

 

 

  1. กรณีฟันสึกมากจนทำให้ฟันบางเกินไป มักได้รับการรักษาด้วยการอุดคอฟันด้วย คอมโพสิท เรซิน (Composite resin) หรือ กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer)

 

 

  1. ถ้าฟันสึกจนมีอาการฟันบางจนเห็นได้ชัด เพราะสึกจนลึกถึงโพรงประสาทฟัน อาจจำเป็นต้องรักษาคลองรากฟันก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงต่อด้วยการอุดฟัน หรือครอบฟัน

 

 

การป้องกันฟันไม่ให้ฟันสึกจนเกิดภาวะ “ฟันบาง” มีวิธีใดบ้าง

 

  1. ลดการรับประทานอาหารรสเปรี้ยวจัด หวานจัด ที่ทำให้เกิดกรดในช่องปาก เช่น มะนาว มะยม ยำรสจัด ผลไม้ดอง หรือขนมหวานจัด เช่น เยลลี่ ลูกอม ฯลฯ

 

 

  1. ลดการรับประทานอาหารที่มีความแข็งและเหนียวเกินไป เช่น เนื้อเค็ม กระดูกอ่อน เป็นประจำ เพราะการต้องใช้ฟันเพื่อกัดแทะ และเคี้ยวหนักหน่วงเกินไป ส่งผลให้เคลือบฟันถูกทำลายได้

 

 

  1. หลีกเลี่ยงหรือลดเครื่องดื่มที่ช่วยเสริมความเป็นกรดในช่องปาก เช่น กาแฟ น้ำอัดลม โซดา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

  1. ถ้าต้องดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดกรดในช่องปาก ควรใช้หลอดดูดเพื่อให้เครื่องดื่มสัมผัสโดนฟันให้น้อยที่สุด และหลังมื้ออาหารที่เสี่ยงต่อการเพิ่มกรดในช่องปากควรดื่มน้ำสะอาดล้างในช่องปาก 1 รอบ และควรทำความสะอาดฟันเสมอ ถ้าไม่สะดวกแปรงฟัน ควรบ้วนปากหลังมื้ออาหาร

 

 

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่าถูกไปมาอย่างรุนแรงเกินไป และหลังรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด ไม่ควรแปรงฟันทันที แต่ควรทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที เพราะถ้าแปรงฟันทันที แปรงสีฟันกับกรดที่เกาะบนผิวฟันจะทำให้ฟันบางลงได้

 

 

  1. ใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มกำลังพอดี ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไลด์ ไม่มีผงขัดแบบหยาบ และถ้าเริ่มมีอาการเสียวฟันให้ใช้ยาสีฟันสูตรลดการเสียวฟันที่มีคำว่า เซนซิทีฟ (Sensitive) อยู่บนฉลาดผลิตภัณฑ์

 

 

 

  1. ดูแลสุขภาพจิตใจ อย่าปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียดต่อเนื่อง จนเกิดพฤติกรรมนอนกัดฟัน หรือถ้ามีปัญหานี้อยู่แล้วควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

 

 

  1. หากจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรค หรือวิตามินเสริมที่มีความเป็นกรด ควรดื่มน้ำตามอย่างเหมาะสม แล้วบ้วนปากเสมอ

 

 

  1. นัดพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปาก อย่างสม่ำเสมอ

 

 

การฟอกสีฟันทำให้ฟันบางจริงหรือ ?

            ไม่จริง !! การฟอกสีฟันไม่ทำให้ฟันบาง เพราะการฟอกสีฟันไม่ใช่การขัดฟัน แต่เป็นการใช้น้ำยาให้เข้าไปทำปฏิกิริยาแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ภายในฟัน ทำให้สีของฟันขาวสว่างมากขึ้น โดยเฉพาะการฟอกฟันขาวด้วยเครื่องฟอกฟันขาวแบบซื้อไปทำเองบ้าน เช่น Linee ที่ใช้เจลฟอกฟันขาวที่มีส่วนผสมของ Carbamide Peroxide เช่นเดียวกับที่ใช้ในคลินิกทันตแพทย์ แต่มีความเข้มข้นต่ำกว่า โดยสารนี้จะเปลี่ยนอณูเป็นออกซิเจนเพื่อเข้าไปทำความสะอาดผิวฟัน และมีเครื่อง cool light หรือแสงเย็น ช่วยผลักเม็ดสีเหลืองที่สะสมในรูเนื้อฟันออกไปโดยไม่ทำหลายเนื้อฟัน และไม่ทำให้ฟันบาง หรือเสียวฟัน

 

 

          ฟันบาง ฟันสึก ฟันเหลือง ไม่ว่าคำไหนก็ล้วนแต่เป็นอาการที่เกิดขึ้นแล้วทำร้ายสุขภาพฟันเป็นอย่างมาก แต่ฟันขาวสุขภาพดีมีได้ด้วยการใส่ใจดูแลของตัวเราเองนะคะ ขอแค่ชาว Linee ทุกคนเริ่มต้นด้วยการดูแลทำความสะอาดฟันสม่ำเสมอ เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อเหงือกและฟัน เท่านั้นเองค่ะ 

 

 

 

กลับไปยังบล็อก