ปัญหาหนึ่งที่ไม่ว่าคุณจะฟันขาว ฟันเหลือง เหงือกอักเสบ หรือ สุขภาพช่องปาก เป็นอย่างไร ก็อาจต้องพบเจอคือเรื่อง น้ำหนักเกิน หรือ โรคอ้วน ที่เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อเพลินปากเรื่องอาหารการกิน และขาดการออกกำลังกาย แต่ชาว Linee รู้ไหมคะว่า น้ำหนักตัว รวมถึงการ ลดน้ำหนัก ล้วนเกี่ยวเนื่อง และส่งผลต่อสุขภาพช่องปากเสมอ แต่จะเกี่ยวข้องกันแบบไหน ดีหรือไม่ดีอย่างไร เรามีคำตอบให้ชาว Linee ทุกคนแล้วค่ะ
“โรคอ้วน” หรือ “ภาวะน้ำหนักเกิน” คือ
ภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) หรือ โรคอ้วน (Obesity) คือ การที่บุคคลมีการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย แล้วได้ผลตั้งแต่ 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งผลนี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะน้ำหนักเกิดหรือโรคอ้วนจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร่างกายโดยรวม และปัญหาสุขภาพช่องปากมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติตามมาตรฐาน
“น้ำหนักเกิน” หรือ “โรคอ้วน” ดูจากอะไร ?
- น้ำหนัก (Weight) หมายถึง น้ำหนักโดยรวมของร่างกาย ที่ประกอบไปด้วยกระดูก กล้ามเนื้อ ไขมัน และของเหลวชนิดต่าง ๆ ที่แต่ละคนมีมากน้อยแตกต่างกันทำให้มีน้ำหนักที่ต่างกันไปด้วย โดยน้ำหนักที่เหมาะสมต้องเทียบกับค่าส่วนสูงของแต่ละคนแล้วมีความสัมพันธ์กัน เพื่อนำน้ำหนัก และส่วนสูงมาคำนวณเป็นดัชนีมวลกาย
- ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือ BMI หมายถึงตัวเลขที่ใช้ประเมินสภาพร่างกายว่ามีความสมดุลของน้ำหนักตัวและส่วนสูงเหมาะสมหรือไม่ สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยมีการตั้งเกณฑ์การคำนวณไว้ดังนี้
“น้ำหนักเกิน” ส่งผลเสียต่อ “สุขภาพช่องปาก” แบบไหน ?
เป็นที่รู้กันว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดี เช่น ชอบกินจุบจิบ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาล หรือ กินอาหารไม่เป็นเวลา ฯลฯ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย รวมถึงสุขภาพช่องปากเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารนั้น ๆ ส่งผลทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วนขึ้น ดังนี้
1.มีการศึกษาพบว่าคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกมากกว่าคนปกติ เพราะคนน้ำหนักเกินมักมีภาวะดื้นต่ออินซูลิน
- ภาวะอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับแป้ง และน้ำตาลในปริมาณมาก ซึ่งชาว Linee รู้กันใช่ไหมคะว่า แป้งและน้ำตาลคือตัวการที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ ฟันเหลือง กลิ่นปาก และเหงือกอักเสป เพราะน้ำตาลทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ที่ผิวฟัน ขณะที่แป้งหรือคาร์โบไฮเดรตจะทำให้เกิดกรดในช่องปาก ทำให้เคลือบฟันถูกทำลาย หากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ถูกวิธีก็จะทำให้ฟันผุ และอาจสูญเสียฟันได้
วิธี “ลดน้ำหนัก” ที่ถูกต้อง และส่งผลดีต่อ “สุขภาพช่องปาก” คือ ?
- ผู้ชายควรได้รับพลังงานต่อวันประมาณ 2,000 แคลอรีขณะที่ผู้หญิงควรได้รับพลังงานวันละไม่เกิน 1,600 แคลอรี ฉะนั้นการลดน้ำหนักสิ่งแรกที่ต้องทำคือควบคุมอาหาร โดยลดปริมาณอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ซึ่งมักทิ้งเศษอาหารไว้ตามซอกฟัน ทำความสะอาดยาก ทำให้เกิดแบคทีเรียในช่อง เป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก คราบหินปูน ฟันเหลือง และฟันผุ
- เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทผัก และผลไม้ ธัญพืช ซึ่งนอกจากส่งผลดีต่อการลดน้ำหนักแล้ว ยังอาหารประเภทผัก ผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ผักใบเขียว ยังช่วยกระตุ้นต่อมน้ำลายให้ผลิตน้ำลายมาเคลือบฟัน ขนัดคราบพลัก และลดความเสี่ยงในการเกิดคราบหินปูน
- ปรับพฤติกรรมการรับประทาน ด้วยการเน้นรับประทานอาหารมื้อหลัก โดยเฉพาะมื้อเช้าที่เป็นมื้อหลัก เพื่อกระจายปริมาณพลังงานอาหารให้พอเพียงต่อความต้องการของร่างกาย และไม่ให้รู้สึกหิวจนเกินไป และควรรับประทานอาหารเย็นในปริมาณน้อย โดยควรรับประทานมื้อเย็นก่อนเวลานอน 4 ชั่วโมงขึ้นไป
- ให้ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก งดชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และน้ำหวานประเภทต่าง ๆ เพื่อปรับระดับน้ำตาลในร่างกายลดลง จะช่วยทำให้ความอยากอาหารน้อยลง รวมทั้งยังดีต่อสุขภาพช่องปาก ลดความเสี่ยงการเกิดฟันผุ ฟันสึก ฟันเหลือง และโรคปริทันต์ต่าง ๆ ด้วย
- ลดการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด รวมถึงของหมัก ของดอง ซึ่งจะช่วยโอกาสเกิดกลิ่นปากในช่องปากได้ด้วย
- งดการกินจุกกินจิก ถ้าอดไม่ได้ให้เลือกอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ธัญพืช ผลไม้ ถ้ารู้สึกโหยระหว่างวันให้ใช้การเคี้ยวหมากฝรั่งแบบปราศจากน้ำตาล เพราะช่วยลดความอยากรับประทานระหว่างมื้อได้ ส่งผลดีต่อการลดน้ำหนัก แล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปาก เพราะหมากฝรั่งช่วยทำความสะอาดช่องปาก โดยเฉพาะเศษอาหารระหว่างซี่ฟัน ทำให้ฟันสะอาด ลดการเกิดฟันผุ และช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลายมาดูแลฟัน
- อย่าอดอาหารเด็ดขาด เพราะการอดอาหารส่งผลเสียต่อระบบภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบเผาผลาญที่ส่งผลต่อการลดน้ำหนัก
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะการใช้สารให้ความหวานแทนจะยังทำให้ร่างกายจดจำความหวานได้ และต้องการมากขึ้น รวมถึงยังทำให้เผลอรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานมากขึ้น เพราะคิดว่าไม่ทำให้อ้วนอีกด้วย
- เลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง ให้ได้ 3 - 5 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์
- ปรับเวลานอนให้เหมาะสม อย่านอนดึกเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญในร่างกาย
- อย่าใช้ทางลัดด้วยการรับประทานยาลดความอ้วน เพราะมีแต่ผลเสียต่อร่างกาย
- หากใครตั้งใจจะลดน้ำหนักใช้วิธีพิเศษ เช่น รับประทานแบบ โลว์คาร์บ (Low-carb / Low-carbohydrate ) และ อาหารคีโต (Ketogenic diet) ควรปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีประจำตัว
“การลดน้ำหนัก” ที่ส่งผลเสียต่อ “สุขภาพช่องปาก” คือ ?
- การใช้ยาลดน้ำหนัก
คนลดน้ำหนักจำนวนไม่น้อยใช้ทางลัดด้วยการรับประทานยาลดน้ำหนัก หรืออาหารเสริมที่เชื่อว่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ โดยเลือกมองข้ามผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ เช่น ผลเสียต่อระบบประสาท ปฏิกิริยาน้ำหนักขึ้น ๆ ลง ๆ ที่เรียกว่า โยโย่ เอฟเฟค (YOYO Effect) ฯลฯ นอกจากนี้ ยาลดน้ำหนักยังส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากเป็นอย่างมาก ทำให้ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติ ผลิตน้ำลายได้น้อย จนเกิดอาการปากแห้ง ส่งผลทำให้ในช่องปากมีเชื้อแบคทีเรียสะสมมากเกินไป ทำให้เสี่ยงในการเกิดฟันผุ และเป็นโรคเหงือก
2. อดอาหาร
ในช่วงของการลดน้ำหนัก หรือ ไดเอท (Diet) คนจำนวนมากใช้วิธีสุดโต่งด้วยการอดอาหาร โดยหวังว่าจะลดน้ำหนักได้เร็ว แต่ความจริงแล้วการอดอาหารกลับทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก เช่น แคลเซียม (Calcium) วิตามินซี (Vitamin C) วิตามินดี (Vitamin D) เป็นต้น แล้วยัง ส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเผาผลาญ ทำงานได้ไม่เต็มที่ และเกิดอาการรวน ทำให้สุขภาพช่องปากแปรปรวน เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเหงือก
“การดื่มน้ำ” ส่งผลดีต่อ “การลดน้ำหนัก” หรือไม่ ?
น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายมนุษย์ที่มีความจำเป็น และขาดไม่ได้ การดื่มน้ำจึงส่งผลต่อร่างกายหลายอย่าง หนึ่งในผลดีก็คือ ช่วยในการลดน้ำหนักได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- น้ำเปล่าไม่มีพลังงาน ไม่มีแคลอรี่ ไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- น้ำเปล่าช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการดึงพลังงานส่วนเกินออกมาเผาผลาญเพื่อให้อุณหภูมิร่างกายมีความสมดุล
- การดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสมช่วยลดความอยากดื่มเครื่องดื่มรสหวาน
“การแปรงฟัน” ช่วยเรื่อง “การลดน้ำหนัก” ได้จริงหรือ ?
การแปรงฟันไม่ได้ช่วยลดน้ำหนักโดยตรง แต่ส่งผลดีทางอ้อมต่อการลดน้ำหนัก โดยมีการทดลองเรื่องนี้และได้ผลลัพธ์ที่เชื่อว่า การแปรงฟันเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์เรามักทำหลังมื้ออาหาร และตัวยาสีฟันซึ่งส่วนใหญ่มีส่วนประกอบเป็น มิ้นต์ (Mint) และสารที่ทำให้เกิดฟองอย่าง โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate ) หรือ สาร SLS ส่งผลต่อต่อมรับรส ทำให้รู้สึกว่ากินอะไรไม่อร่อย เมื่อทำเป็นบ่อย ๆ จะส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้รู้สึกว่า หลังแปรงฟันแล้วไม่อยากอาหารลดลง และรู้สึกว่าไม่ควรรับประทานอะไรอีก
“ลดน้ำหนัก” นอกจากได้หุ่นสวยสุขภาพแข็งแรงกลับมาแล้ว ยังได้ฟันขาวแข็งแรง และสุขภาพช่องปากที่ดีด้วยนะทุกคน