ไขข้อข้องใจ ได้เวลาที่คุณต้องรักษารากฟันแล้วหรือยัง ?!

ไขข้อข้องใจ ได้เวลาที่คุณต้องรักษารากฟันแล้วหรือยัง ?!

 

           ใคร ๆ อาจเดินเข้าเดินออกคลีนิกทันตกรรมบ่อยครั้ง แต่คนไม่มากนักที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่เรียกว่า การรักษารากฟัน ที่แม้จะเคยได้ยินมาบ้าง แต่เราจะคุ้นเคยกับการไปหาทันตแพทย์เพื่อจัดฟัน  อุดฟัน  ถอนฟันคุด ฟอกฟัน แก้ปัญหาฟันเหลือง ฯลฯ ทั้งที่การรักษารากฟันเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่สาเหตุอะไรที่ทำให้ต้องรักษารากฟัน  วันนี้ไขข้อข้องใจไปพร้อมกันค่ะ

 

การรักษารากฟัน คือ อะไร

 

 

 

          การรักษารากฟัน ( Root canal treatment ) คือกระบวนการขจัดเนื้อเยื่อที่ถูกเชื้อโรคทำลายในโพรงประสาทฟัน  แล้วทำความสะอาดให้ดี เพื่อทำการรักษาคลองรากฟันที่เกิดการอักเสบด้วยการทำความสะอาดแล้วอุดคลองรากฟัน  แล้วซ่อมแซมฟันให้กลับมาแข็งแรง สวยงาม มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้เป็นปกติ  แม้การรักษารากฟันจะมีขั้นตอนยุ่งยาก แต่เป็นการรักษาฟันแท้ไว้ได้ โดยไม่ต้องถอนฟันแล้วใส่ฟันเทียมลงไป  การมีฟันแท้ใช้บดเคี้ยวอาหารส่งผลดีทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และเป็นธรรมชาติมากกว่า เพราะไม่ต้องมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในปาก

 

ผลกระทบเมื่อเกิดปัญหารากฟัน

              เมื่อคลองรากฟัน  หรือโพรงประสาทฟันมีปัญหา  อาการเตือนที่เป็นผลกระทบจากปัญหานั้น ๆ ก็คือ

 

             1.ปวดฟันโดยไม่ทราบสาเหตุ  ปวดเป็น ๆ หาย ๆ  หรือปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน 

 

 

 

            2.เมื่อใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารจะรู้สึกเจ็บ

 

 

            3.รู้สึกเสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อน & เย็น หรือมีรสเปรี้ยวมาก ๆ

 

 

 

            4.ฟันโยก ฟันหลวม ที่มีสาเหตุจากคลองรากฟันหรือโพรงประสาทฟันเกิดการติดเชื้อ

 

 

            5.กรณีมีการติดเชื้อรุนแรง อาจส่งผลกระทบทำให้มีน้ำหนองไหลออกมาจากฟัน ฟันมีสีคล้ำ เหงือกบวม มีตุ่มหนอง กระทั่งหน้าบวมได้

 

 

สาเหตุที่ทำให้ต้องรักษารากฟัน คือ  

  1. ฟันผุมาก ผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน ผุเรื้อรังเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา

 

 

  1. เกิดอุบัติเหตุทำให้ฟันได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จนฟันโยก อักเสบ จนเกิดฟันตายกลายเป็นสีคล้ำ ดำ

 

 

  1. ฟันแตก เนื่องจากเหตุไม่คาดฝัน ใช้งานบดเคี้ยวที่หนักหน่วง เพราะเคี้ยวของเหนียวหรือแข็ง  หรือเครียดจนนอนกัดฟัน เป็นต้น

 

 

  1. มีพฤติกรรมการทำร้ายฟัน เช่น ใช้ฟันผิดวัตถุประสงค์ กัด แทะ สิ่งต่าง ๆ อย่างรุนแรงจนอาจทำให้มีฟันร้าว  และมีเชื้อโรคเข้าไปในโพรงประสาทฟันได้

 

 

  1. เป็นโรคเหงือก มีอาการติดเชื้อจากร่องเหงือก ส่งผลทำให้รากฟันอักเสบไปด้วย

 

 

  1. มีพฤติกรรมนอนกัดฟันรุนแรง หรือ กัดฟันไม่รู้ตัว บ่อย ๆ

 

 

การรักษารากฟัน มีวิธีการดังนี้

 

  1. รักษารากฟันด้วยการอุดคลองรากฟัน

          เป็นวิธีรักษารากฟันเบื้องต้น  เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย และเชื้อโรคออกไปให้หมด  แล้วทำการบูรณะให้ฟันกลับมาแข็งแรงดังเดิม ด้วยขั้นตอน ดังนี้

 

 

1.1 ทันตแพทย์ตรวจวินิจฉัยว่า โพรงประสาทฟัน และคลองรากฟันมีปัญหาต้องทำการ 

1.2 ทำการตรวจดูว่าสามารถทำการครอบฟันได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถทำได้อาจส่งผลให้รักษารากฟันไม่ได้ เพราะการครอบฟันจะช่วยทำให้ตัวฟันไม่เกิดการแตกหักระหว่างทำการรักษารากฟัน 

1.3 ทันตแพทย์จะตรวจวัดความยาวคลองรากฟันด้วยการเอกซเรย์ 

1.4 ทันตแพทย์จะฉีดยาชา และใช้ แผ่นยาง (Rubber dam) แยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น 

 1.5 ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อเยื่อที่ถูกเชื้อโรคทำลายในโพรงประสาทฟัน และทำความสะอาดให้ทั่ว ทั้งในโพรงประสาทฟัน และใสยาในคลองรากฟัน   

1.6 ปิดคลองรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ 

1.7 การรักษาครั้งที่ 2 เมื่อตรวจจนแน่ใจว่า  โพรงประสาทฟัน และคลองรากฟัน ปราศจากเชื้อโรค จึงทำการอุดคลองรากฟันถาวร โดยทั่วไปใช้เวลา  2 - 3 สัปดาห์ก็หายเป็นปกติ 

1.8  บางกรณีทันตแพทย์จะทำ เดือยฟัน (core build up) เพื่อใช้เป็นแกนกลาง เสริมความแข็งแรงในการทำครอบฟัน   สาเหตุที่ต้องรักษารากฟันก่อนการครอบฟันเนื่องจาก การครอบฟันต้องมีการกรอฟัน  มีโอกาสกระทบกระเทือนโพรงประสาทฟันได้  ฉะนั้นก่อนครอบฟันต้องรักษารากฟันให้เรียบร้อยก่อน 

 

  1. รักษารากฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน

         

 

         การผ่าตัดรากฟันเป็นวิธีรักษาที่จะใช้ต่อเมื่อการรักษาเบื้องต้นไม่ได้ผล จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดปลายรากฟัน โดยการผ่าตำแหน่งปลายรากฟันที่กำลังติดเชื้อ  เป็นหนอง ซึ่งอาจมีการตัดปลายรากฟันบางส่วนออกไป  ซึ่งในปัจจุบันไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะมีการใช้กล้องจุลศัลยกรรมช่วยขยายการมองเห็นคลองรากฟันให้ชัดเจนขึ้น ทำให้การผ่าตัดไม่ยากเหมือนแต่ก่อน ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยหลังผ่าตัจะมีการอุดวัสดุพิเศษที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเข้าที่ปลายรากฟัน  ช่วยให้ทดแทนเนื้อเยื่อรอยปลาทดแทนเนื้อเยื่อรอยปลายรากฟันที่ถูกทำลายไป

  

ข้อควรปฏิบัติภายหลังการ รักษารากฟัน มีดังนี้

 

  1. ภายหลังเข้ารับการรักษารากฟันไม่ควรรับประทานอาหารทันที แต่ควรงดอาหารจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์

 

 

 

  1. ใช้งานฟันโดยเฉพาะฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันมาอย่างระมัดระวัง เพราะฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันยังอ่อนแออยู่  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ต้องบดเคี้ยวอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้ฟันร้าว แตกได้

 

 

  1. ถ้ามีอาการปวด บวม ภายหลังการรักษารากฟัน  สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้าไม่ขึ้นให้รีบไปพบทันตแพทย์

 

 

  1. ถ้าวัสดุอุดคลองรากฟันชั่วคราวหลุดออกมาให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อป้องกันเชื้อโรคในช่องปากเข้าคลองรากฟัน

 

 

  1. ควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดขณะทำการรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาที่ล้มเหลว เพราะอาจจบที่โดนถอนฟันแทนก็ได้ แม้หลังจากจบการรักษาแล้วก็ควรไปตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือทุก 1 ปี

 

 

 

  1. หลังจากฟันกลับมาแข็งแรง มีประสิทธิภาพดังเดิม ควรดูแลสุขภาพฟันอย่างดีด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และสม่ำเสมอ

 

 

 

  1. ใช้อุปกรณ์อุปกรณ์เสริมในการดูแลฟัน และสุขภาพช่องปาก เช่น ไหมขัดฟัน น้ำยาบ้วนปาก แปรงซอกฟันร่วมด้วย เพื่อสุขภาพฟันขาวแข็งแรง ไม่เกิดฟันเหลือง ฟันผุ และโรคในช่องปากอื่น ๆ ที่สร้างปัญหาให้รากฟัน 

 

 

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับ การรักษารากฟัน

 

          วัสดุที่ใช้อุดคลองรากฟันเป็นแบบเดียวกับการที่ใช้อุดฟันผุหรือไม่ ?

          ไม่ใช่  โดยทั่วไปวัสดุที่นิยมใช้อุดคลองรากฟันคือ กัตตาเปอร์ชา (Gutta percha)  ซึ่งทำมาจากยางไม้ชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่ทำให้เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน และปลายรากฟันเกิดการระคายเคือง  มีลักษณะนิ่ม และอ่อนตัวด้วยความร้อน สามารถนำออกได้ด้วยการกรอโดยใช้ความร้อน หรือตัวทำละลายบางชนิด เช่น ตัวทำละลายที่เรียกว่า คลอโรฟอร์ม ( Chloroform)  กัตตาเปอร์ชามีข้อเสียคือ ยึดติดผนังคลองรากฟันได้น้อย จึงจำเป็นต้องใช้ ซีลเลอร์ (Sealer) เป็นวัสดุช่วยปิดช่องว่างระหว่างวัสดุอุดคลองรากฟันกับผนังคลองรากฟัน เพื่อเพิ่มความแนบสนิท แต่การใช้ซีลเลอร์ต้องระมัดระวังเพราะเกิดการระคายเคืองได้

 

 

เคยรักษารากฟัน จ้ดฟันได้หรือไม่ ?

          คนที่เคยรักษารากฟันสามารถจัดฟันได้ แต่ต้องให้กระบวนการรักษารากฟันเสร็จสิ้นก่อน และควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการจัดฟัน

 

 

การรักษารากฟันมีความเสี่ยงอย่างไร ?

            การรักษารากฟันมีความเสี่ยงที่จะทำให้ผิวฟัน และเนื้อฟันเกิดความเสียหาย ได้ เพราะต้องมีการเจาะฟันเข้าไปในโพรงรากฟัน  รวมทั้งในขั้นตอนการรักษารากฟันหากไม่ใช่ทันตแพทย์ชำนาญการในคลีนิกที่ได้มาตรฐานก็อาจเกิดการติดเชื้อขึ้นได้

 

 

          การรักษารากฟัน ถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ยุ่งยากและซับซ้อน แต่ก็มีข้อดีที่ทำให้สามารถเก็บรักษาฟันแท้ไว้ใช้งานได้อย่างยาวนาน และการรักษาจะได้ผลสำเร็จดีที่สุด หากเจ้าของฟันให้ความร่วมมือกับทันตแพทย์ในทุกขั้นตอนการรักษา แต่ทั้งนี้ วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพฟันขาว และดูแลรากฟันให้แข็งแรงก็คือ  การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างดี รวมถึงมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ  เพราะฟันแท้ไม่ใช่แค่เครื่องมือบดเคี้ยวตามธรรมชาติ แต่ ฟันแท้ที่ขาวแข็งแรง สร้างรอยยิ้ม ความมั่นใจ และพลังบวกให้เราได้อย่างไรล่ะคะ

 

 

กลับไปยังบล็อก